ภาวะท้องผูกเรื้อรัง

ภาวะท้องผูกเรื้อรังเป็นภาวะที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ แพทย์จำนวนมากยังเข้าใจว่าเป็นภาวะที่รักษาไม่หาย และให้เพียงการรักษาตามอาการโดยละเลยข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ป่วยประมาณร้อยละ 40 มีสาเหตุที่สามารถแก้ไขให้หายขาดได้ โดยมีต้นเหตุมาจากการเบ่งที่ไม่ถูกวิธี ดังนั้นการสืบค้นหาสาเหตุของอาการท้องผูกจึงมีความจำเป็นในผู้ป่วยท้องผูกรุนแรงที่มีอาการรบกวนชีวิตประจำวันมาก ดังปรากฎอยู่ในแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังฉบับนี้

Read more

การรักษาโรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน หมายถึงภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร แล้วทำให้เกิดอาการของหลอดอาหาร เช่น แสบร้อนหน้าอก เรอเปรี้ยว และแน่นหน้าอกคล้ายโรคหัวใจ หรือเกิดอาการนอกหลอดอาหาร เช่น ไอเรื้อรัง เสียงแหบ เจ็บคอเรื้อรัง มีเสมหะมากจนรบกวนผู้ป่วยซึ่งมักเป็นเรื้อรังและไม่พบสาเหตุอื่น หรือทำให้เกิดพยาธิสภาพของหลอดอาหารหรือทางเดินหายใจส่วนบน เช่นหลอดอาหารอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ เป็นต้น ในคนปกติทั่วไป สามารถมีกรดไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหารได้แต่มักไม่ทำให้เกิดอาการหรือพยาธิสภาพของหลอดอาหารหรือทางเดินหายใจส่วนบน

Read more

การรักษาท้องผูก

อาการท้องผูกเป็นอาการที่พบได้บ่อย ในคนไทยมีการศึกษาพบว่า 24% ของประชาชนชาวไทยคิดว่าตนเองมีปัญหาท้องผูก แต่เมื่อสอบถามในรายละเอียดแล้วพบว่าคนไทยประมาณ 8% มีปัญหาในการเบ่งอุจจาระลำบาก และ 3% มีปัญหาถ่ายอุจจาระได้น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้นอาการท้องผูกจึงถือเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่ง แม้ว่าอาการท้องผูกส่วนใหญ่มักจะไม่ทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายถึงชีวิต แต่ก็มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมากโดยเฉพาะในรายที่เป็นรุนแรง

Read more

Dyspepsia and Functional Dyspepsia

ภาวะ dyspepsia มีรากศัพท์จากภาษากรีกประกอบด้วยคำว่า dys และ pepsis แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า indigestion ซึ่งอาจแปลตามตัวว่า การย่อยอาหารที่ไม่สมบูรณ์ เป็นการวินิจฉัยอาการที่พบได้ทั่วไปในเวชปฏิบัติ แต่ความเข้าใจในภาวะดังกล่าวของแพทย์ยังมีความแตกต่างกันไป การรักษาdyspepsia โดยเฉพาะ functional dyspepsia (FD) ซึ่งเป็นสาเหตุของ dyspepsia ที่พบมากที่สุด…

Read more

Biofeedback Therapy

Dyssynergic defecation เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของภาวะท้องผูกเรื้อรัง โดยพบได้ประมาณหนึ่งในสามของผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังทั้งหมด ความผิดปกตินี้เกิดจากการทำงานไม่ประสานกันของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเบ่งอุจจาระ ทั้งนี้อาจเกิดจากการเกร็งตัวของ external anal sphincter หรือ levator ani ในขณะเบ่งหรืออาจเกิดจากแรงเบ่งที่เกิดขึ้นในทวารหนักมีน้อยจึงไม่เพียงพอที่จะเอาชนะแรงต้านบริเวณหูรูดทวารหนัก จึงทำให้ไม่สามารถเบ่งอุจจาระออกมาได้ทั้งนี้พบว่าส่วนใหญ่เป็นผลจากความผิดปกติของพฤติกรรมการถ่ายที่เกิดขึ้นภายหลัง มีเพียงหนึ่งในสามที่เป็นผลจากการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้องในวัยเด็ก การรักษาด้วยวิธี biofeedback therapy หรือการฝึกเบ่งเป็นวิธีมาตรฐานและเป็นการรักษาเฉพาะสำหรับความผิดปกตินี้ โดยมีหลักการคือ…

Read more